ReadyPlanet.com
dot
dot
bulletระดับราคา 1 - 3 ล้านบาท
bulletระดับราคา 3 - 5 ล้านบาท
bulletระดับราคา 5 - 7 ล้านบาท
bulletระดับราคา 7 - 9 ล้านบาท
bulletระดับราคา 9 - 10 ล้านบาท
bulletระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป
dot
dot
bullet1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ
bullet1 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ
bullet2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
bullet3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
bullet3 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ
bullet3 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ
bullet4 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet4 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
bullet4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ
bullet4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ
bullet5 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ
bullet5 ห้องนอน 5 ห้องน้ำ
bullet6 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
bullet6 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ
dot
dot
bulletวัสดุสร้างบ้าน premium
dot
dot
bulletรวมแบบบ้านรหัส D1 - D10
bulletรวมแบบบ้านรหัส D11 - D20
bulletรวมแบบบ้านรหัส D21 - D30
bulletรวมแบบบ้านรหัส D31 - D40
bulletรวมแบบบ้านรหัส D41 - D50
bulletรวมแบบบ้านรหัส D51 - D60
bulletรวมแบบบ้านรหัส D61 - D70
bulletรวมแบบบ้านรหัส D71 - D80
bulletรวมแบบบ้านรหัส D81 - D90
bulletรวมแบบบ้านรหัส D91 - D100
bulletรวมแบบบ้านรหัส D101 - D110
bulletรวมแบบบ้านรหัส D111 - D120
bulletรวมแบบบ้านรหัส D121 - D130
bulletรวมแบบบ้านรหัส D131 - D140
bulletรวมแบบบ้านรหัส D141 - D150
bulletรวมแบบบ้านรหัส D151 - D160
bulletรวมแบบบ้านรหัส D161 - D170
bulletรวมแบบบ้านรหัส D171 - D180
bulletรวมแบบบ้านรหัส D181 - D190
bulletรวมแบบบ้านรหัส D191 - D200
bulletรวมแบบบ้านรหัส D201 - D210
bulletรวมแบบบ้านรหัส D211 - D219
bulletรวมแบบบ้านรหัสอื่นๆ
dot
dot
bulletรวมแบบบ้านรหัส ST1 - ST5
bulletรวมแบบบ้านรหัส ST6 - ST11
bulletรวมแบบบ้านรหัส ST12 - ST17
bulletรวมแบบบ้านรหัส ST18 - ST23
bulletรวมแบบบ้านรหัส ST24 - ST29
bulletรวมแบบบ้านรหัส ST30 - ST34
bulletรวมแบบบ้านรหัส ST35 - ST40
bulletรวมแบบบ้านรหัส ST41 - ST45
bulletรวมแบบบ้านรหัส ST46 - ST50
dot
dot
bulletรวมแบบบ้านรหัส F2 - F7
bulletรวมแบบบ้านรหัส A1 - A10P
bulletรวมแบบบ้านรหัส A11 - A20
bulletรวมแบบบ้านรหัส A21 - A30S
bulletรวมแบบบ้านรหัส A31 - A40
bulletรวมแบบบ้านรหัส A41 - A50
bulletรวมแบบบ้านรหัส A51 - A60
bulletรวมแบบบ้านรหัส A61 - A70
bulletรวมแบบบ้านรหัส A71 - A80
bulletรวมแบบบ้านรหัส A81 - A90
bulletรวมแบบบ้านรหัส A91 - A100
bulletรวมแบบบ้านรหัส A111 - A120
bulletรวมแบบบ้านรหัส A220 - A229
bulletรวมแบบบ้านรหัส A230 - A239
bulletรวมแบบบ้านรหัส A240 - A249
bulletรวมแบบบ้านรหัส A250 - A259
bulletรวมแบบบ้านรหัส A260 - A269
bulletรวมแบบบ้านรหัสอื่นๆ
dot
dot
bulletแบบบ้าน 3 ชั้น
bulletแบบอพาร์ทเม้นท์
bulletแบบ Home Office
bulletแบบร้านอาหาร / ร้านกาแฟ
dot
dot
bulletคลิ๊กดูขั้นตอนงานก่อสร้าง
dot
dot
bulletขั้นตอนการออกแบบบ้าน
dot
dot
bullet รวมสาระน่ารู้เรื่องบ้าน
bulletความรู้เรื่องหลังคาบ้าน
bulletฤกษ์ดีสร้างบ้าน
dot
dot


สนับสนุนคนไทยฟังธรรม
สร้างบ้านสวย
แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง
homethaidd


ไปเที่ยวกับ O.M. HOME article

ถึงวันเข้าพรรษาแล้ว หากใครที่กำลังเมี่ยงๆ มองๆ หา สถานที่ท่องเที่ยว และต้องการไปทำบุญ ในช่วงวันหยุดเข้าพรรษานี้ ผมขอแนะนำ 9 วัด น่าไปในอยุธยา  อยุธยาเมืองกรุงเก่า อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก เหมาะที่จะพาครอบครัวเดินทางไปในช่วงวันหยุดนี้ ที่สำคัญเหมาะกับสภาพเศรษฐกิจช่วงน้ำมันแพงอย่างนี้มาก และนอกจากจะไปทำบุญไหว้พระกันแล้ว ในเมืองอยุธยาก็ยังมีร้านอาหารริมน้ำบรรยากาศดีน่านั่ง หรือบางร้านก็มีบริการล่องเรือให้ท่านได้ชมทิวทัศน์รอบเกาะเมืองอีกด้วย ลองชมข้อมูลกันดู และไปให้ครบทั้ง 9 วัด หรือจะไปแบบพักค้างคืน อยุธยาก็มีโรงแรมสวยๆ ที่สะดวกสบายทันสมัยคอยบริการอยู่หลายแห่งเหมือนกัน แต่ก่อนเดินทางเที่ยวชมวัด การได้เข้าไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ก่อนก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะท่านจะได้เห็นโบราณวัตถุมีค่ามากมาย ซึ่งจะทำให้ท่านได้เกิดจิตนาการในหว่างการเดินทางเที่ยวชมได้เป็นอย่างดี ...

      พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา 
     ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนโรจนะ ตรงข้ามกับสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์ที่ขุดได้จากกรุวัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2504 และที่นี่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีรูปแบบการจัดแสดงแบบใหม่คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงจำนวนไม่มากจนเกินไปและใช้แสง สี มาทำให้การนำเสนอดูน่าสนใจ 

9 วัด น่าไป

  1.วัดใหญ่ชัยมงคล (วัดเจ้าพระยาไท หรือวัดป่าแก้ว) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสักถ้ามาจากตัวเมืองข้ามสะพาน สมเด็จพระนเรศวร-มหาราช แล้วจะเห็นพระเจดีย์วัดสามปลื้มอยู่กลางสี่แยก เลี้ยวขวาไปไม่ไกลก็จะเห็น ป้าย มีทางแยกซ้ายมือหรือหากมาทางถนนสายเอเซียเลี้ยวเข้าแยกอยุธยา แล้วพบพระเจดีย์ใหญ่กลาง ถนนก็เลี้ยวซ้ายวัดนี้ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมื่อพ.ศ. 1900 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง "วัดป่าแก้ว" ขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงพระศพ "เจ้าแก้วเจ้าไท"ในการสร้างวัดป่าแก้วครั้งนี้ ได้ทรง สร้างพระเจดีย์ขึ้นคู่กับ พระวิหารด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสริม พระเจดีย์ให้ ใหญ่และสูงขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเจดีย์ยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัด สุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระ เกียรติเมื่อคราวทรงชนะศึกยุทธหัตถี พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดชัยมงคล" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ ชัยมงคล วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้ายแล้ว เพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ 
     2.วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดพนัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ซึ่งครองเมืองอโยธยาเป็นผู้สร้างขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามวัดว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง” หรือ "วัดพระนางเชิง" 
       3.วัดธรรมิกราช เป็นวัดสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อวัดมุขราช เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งสร้างวัดพนัญเชิงนั้น พระราชโอรส คือ พระเจ้าธรรมิกราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นที่บริเวณเมืองเก่าชื่อเมืองสังขบุรี ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. 2153) ทรงบูรณะวัดและสร้างวิหารหลวงเพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะ และที่วิหารหลวงแห่งนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานของเศียรพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ศิลปะสมัยอู่ทอง ปัจจุบันกรมศิลปากรนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สำหรับวิหารพระพุทธไสยาสน์นั้น พระราชมเหสีของพระองค์ทรงสร้างพระวิหารถวายตามคำอธิษฐานที่ขอให้พระราชธิดาทรงหายประชวร ไว้ทางหน้าประตูด้านทิศเหนือของพระเจดีย์สิงห์ล้อม 52 ตัวที่แตกต่างไปจากเจดีย์ช้างล้อม พระพุทธไสยาสน์มีความยาว 12 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ที่ฝ่าพระบาทปิดทองประดับกระจก 
    4.วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ริมคลองสระบัว ด้านเหนือของคูเมือง(แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระ-ราชวังหลวง มีชื่อเดิม ว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวใน กรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาทีหลังในรัชสมัยสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อ สำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปฏิสังขรณ์โดยรักษาแบบ อย่างเดิมไว้ และได้เชิญพระพุทธรูปศิลานั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดี จากวัดมหาธาตุไว้ในวิหารน้อย ซึ่งอยู่ฝั่งขวาของ พระอุโบสถอีกด้วย พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 6 องค์ ที่มีอยู่ใน ประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่ามากครับ 
    5.วัดกษัตราธิราชวรวิหาร อยู่นอกเกาะเมืองตรงข้ามกับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมชื่อ "วัดกษัตรา" หรือ "วัดกษัตราราม" เป็นวัด โบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระปรางค์ใหญ่เป็นหลักประธานของวัดครับ 
     6.วัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก นอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา องค์ที่ 24 (พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้น ปัจจุบันเป็นวัดร้าง สิ่งก่อสร้างที่เหลืออยู่ มีพระปรางค์ ศรีรัตนมหาธาตุและเจดีย์ราย ตามพระระเบียงคดรอบพระปรางค์ ความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ วัดนี้เป็น ที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ ซึ่งต้องพระราชอาญา โบยจนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าบรมโกศ วัดไชยวัฒนาราม ได้รับการประกาศขึ้น เป็นโบราณสถาน ของชาติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 และกรมศิลปากร โดยอุทยานประวัติ-ศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้ดำเนิน การบูรณะ ตลอดมาจนปัจจุบันไม่มีสภาพรกร้างอยู่ในป่าอีกแล้ว และยังคงมองเห็นเค้าแห่งความสวยงามยิ่ง ใหญ่ตระการตา ซึ่งผู้ไปเยือนไม่ควรพลาดชมอย่างยิ่ง อนึ่งในการเดินทางไปชมวัดสำคัญในประวัติศาสตร์ ในบริเวณนี้ ท่านอาจเหมาเช่าเรือหางยาว จากบริเวณหลังลานจอดรถฝั่งตรงข้ามพระราชวังจันทรเกษมด้าน ทิศตะวันออกของเกาะเมือง ในอัตราลำละ 300-400 บาท เรือจะล่องไปตามลำน้ำป่าสักไปทางใต้ ผ่านวิทยา ลัยการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดพุทไธสวรรค์ โบสถ์โปรตุเกส วัดไชยวัฒนาราม วัดกษัตราธิราช และเจดีย์พระศรีสุริโยทัยอันสง่างามอีกด้วย ซึ่งจะทำให้การเดินทางมีรสชาติไปอีกแบบ หนึ่ง โดยเฉพาะเวลาพลบค่ำจะเห็นภาพบริเวณวัดไชยวัฒนารามสวยงามมาก 
      7.วัดพุทไธสวรรย์ อยู่ริมแม่น้ำด้านใต้ ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง หากเดินทางโดยรถยนต์และใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ทางทิศ ตะวันตกของเกาะเมือง ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราช แล้วเลี้ยวซ้ายจะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็น ระยะไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธสวรรค์ วัดนี้สร้างขึ้นบริเวณที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองอพยพมาสร้างเมือง ใหม่ เดิมบริเวณนี้เรียกว่า "เวียงเล็ก" หรือ "เวียงเหล็ก" ซึ่งเป็นตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ พระปรางค์ประธานองค์ใหญ่เป็นศิลปะแบบอยุธยาตอนต้นครับ 
     8.วิหารพระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ องค์ใหญ่องค์หนึ่ง ในประเทศไทย พระมงคลพิตรนี้ แต่เดิม อยู่ทางทิศตะวันออก นอกพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้ชลอมาไว้ ทางด้านทิศตะวันตก ที่ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน และโปรดให้ ก่อมณฑปสวมไว้ ครั้งถึงแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าเสือ ยอด มณฑปเกิดไฟไหม้ เพราะอสุนีบาต ทำให้พระศอ ของพระมงคลบพิตรหักตกลง จึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่ แปลงเป็นมหาวิหาร แทนเมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ วิหารมงคลบพิตร ถูกไฟไหม้ทรุดโทรม พระวิหารและองค์ พระพุทธรูป ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ฝีมือไม่งดงามอ่อนช้อย เหมือนของเก่า บริเวณข้างวิหาร พระ มงคลบพิตร ทางด้านทิศตะวันออก เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับ สร้างพระมรุ พระบรมศพ ของ พระมหากษัตริย์ และเจ้านาย เช่นเดียวกับท้องสนามหลวง ของกรุงเทพฯ
     9.วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานคร หรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้  ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือ และอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา 




เกี่ยวกับ โอ.เอ็ม. โฮม แอน์ ดีไซน์

แบบบ้านชั้นเดียว article
แบบบ้านสองชั้น article